the thai cancer
Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University
Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University

หลักสูตรฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางสาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

[Download]


วิสัยทัศน์
เป็นสาขาวิชาอายุรแพทย์มะเร็งวิทยาชั้นนำระดับสากล ทั้งด้านการดูแลรักษาผู้ป่วยและการทำวิจัย



พันธกิจ
1. ผลิตอายุรแพทย์สาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา ให้มีความรู้ความสามารถในการวินิจฉัยโรคมะเร็งได้ รวมทั้งให้การดูแลรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมด้วยตนเอง และให้คำปรึกษาแก่แพทย์อื่นๆในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง
2. ผลิตอายุรแพทย์สาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา ที่สามารถสร้างงานวิจัยและองค์ความรู้ รวมทั้งนำองค์ความรู้ใหม่ไปสร้างงานวิจัยและประยุกต์เพื่อพัฒนาการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด และได้มาตรฐานสากล
3. ผลิตอายุรแพทย์สาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยาที่มีการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต มี ความเป็นมืออาชีพ ความสามารถด้านการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ การทำงานเป็นทีม และการปฏิบัติงานแบบสหวิชาชีพ
4. ผลิตอายุรแพทย์สาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยาที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบสุขภาพของประเทศ การบริหารจัดการ กระบวนการคุณภาพและความปลอดภัย
5. ผลิตอายุรแพทย์สาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยาที่มีความรับผิดชอบ มีจริยธรรม ทัศนคติ และเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วยและญาติ ผู้ร่วมงานและองค์กร มีความเอื้ออาทรและใส่ใจในความปลอดภัย โดยยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความต้องการของระบบสุขภาพ ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของประเทศ



เกณฑ์การคัดเลือกแพทย์ประจำบ้าน/ แพทย์ประจำบ้านต่อยอดอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
1. ได้รับปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต หรือเทียบเท่าที่แพทยสภารับรองได้รับการขึ้นทะเบียนประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภาแล้ว ผ่านการปฏิบัติงานเพิ่มพูนทักษะ สามารถสมัครเข้า ฝึกอบรมชั้นปีที่ 1 ได้
2. เป็นผู้ที่ได้รับวุฒิบัตร หรือหนังสืออนุมัติสาขาอายุรศาสตร์ของแพทยสภา หรือเป็นแพทย์ประจําบ้านปีสุดท้าย ในการฝึกอบรมเพื่อวุฒิบัตรฯ สาขาอายุรศาสตร์หรือเป็นผู้มีสิทธิ์สอบเพื่อวุฒิบัตรสาขาอายุรศาสตร์ในปีนั้น สามารถสมัครเข้าฝึกอบรมในชั้นปีที่ 3 ได้
3. เป็นผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติสาขาโลหิตวิทยาของแพทยสภาหรือเป็นแพทย์ประจําบ้านปีสุดท้ายใน การฝึกอบรมเพื่อวุฒิบัตรฯ สาขาโลหิตวิทยาหรือเป็นผู้มีสิทธิ์สอบเพื่อวุฒิบัตรสาขาโลหิตวิทยาในปีนั้นสามารถ สมัครเข้าฝึกอบรมในชั้นปีที่ 3 ได้
4. มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์แพทยสภาในการเข้ารับการฝึกบรมแพทย์เฉพาะทาง
5. เป็นผู้มีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการปฏิบัติงาน หากความพิการไม่เป็นอุปสรรคดังกล่าว สามารถสมัครเข้าฝึกอบรมได้



เอกสารการสมัคร
1. รูปถ่าย 1 นิ้ว 1 รูป
2. สำเนาบัตรประชาชน 1 ฉบับ
3. สำเนาวุฒิบัตร 1 ฉบับ
4. สำเนาใบประกอบโรคศิลป์
5. สำเนาคะแนนภาษาอังกฤษ (CU-TEP , TOEFL , หรือ IELTS )
6. หนังสือรับรองต้นสังกัด (กรณีมีต้นสังกัด)
7. หนังสือรับรองของอาจารย์จากสถาบันที่ฝึกอบรม / หรือผู้บังคับบัญชา จำนวน 2 ฉบับ



วิธีการคัดเลือก หลักเกณฑ์การคัดเลือก ประกอบด้วย 4 ส่วน รวม 100 คะเเนน
1. ผลการเรียน คะเเนนGPA และ ผลการทดสอบความสามารถภาษาอังกฤษ(15 คะเเนน )
2. หนังสือรับรอง (Recommendation Letter) และประวัติความประพฤติความรับผิดชอบ รางวัลการศึกษา และหนังสือแนะนําตัว (Personal statement) Recommendation ชื่อผู้ที่ให้ Recommendation ตรงกับ รายชื่อผู้ที่สามารถให้ข้อมูลการปฏิบัติงานของผู้สมัคร (15 คะเเนน )
3. คะแนนการสัมภาษณ์และแฟ้มสะสมงาน (Portfolio) (50 คะเเนน )
4. สถานที่ทำงาน โดยพิจารณาตามบทบาทในการกระจายการให้บริการสำหรับภาคสังคมดังนี้
โดยเเบ่งตามความจำเป็นเเละการจัดสรรทรัพยากร (20 คะแนน)
     • กลุ่มที่1 สถานที่ทำงานเป็นโรงพยาบาลรัฐบาล ที่ไม่เคยมีอายุรเเพทย์โรคมะเร็ง จัดเป็นกลุ่มที่ต้องการทรัพยากรมากสุด
     • กลุ่มที่2 สถานที่ทำงานเป็นโรงพยาบาลรัฐบาล เเต่มีอายุรเเพทย์โรคมะเร็ง จัดเป็นกลุ่มที่ต้องการทรัพยากรรองเป็นอันดับที่2
     • กลุ่มที่3 สถานที่ทำงานอื่นๆที่ไม่ตรงกับข้อมูลกลุ่มที่1-2 จัดเป็นกลุ่มที่ต้องการทรัพยากรรองเป็นอันดับที่ 3
5. ตัดสินผลการคัดเลือกตามเกณฑ์การคัดเลือกข้างต้น กรณีที่คะแนนใกล้เคียงกันขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการการสอบสัมภาษณ์
6. แจ้งผลการคัดเลือกให้ผู้สมัครรับทราบตามกำหนดเวลาของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ และส่งรายชื่อผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้แพทยสภาโดยผ่านราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ



ผลลัพธ์ของการฝึกอบรม/หลักสูตร
แพทย์ที่จบการฝึกอบรมต้องสามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเองตามสมรรถนะหลักทั้ง 6 ด้าน ดังนี้
1. การดูแลรักษาผู้ป่วย (Patient care)
     ก.มีทักษะในการซักประวัติ ตรวจร่างกาย นำไปสู่การตัดสินใจให้การดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเหมาะสม
     ข.มีทักษะในการตรวจพบโรคมะเร็งระยะแรก การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งและสร้างเสริมสุขภาพ
     ค.มีทักษะในการดําเนินการเพื่อการวินิจฉัยโรคมะเร็งระยะต่าง ๆ
     ง.มีทักษะในการวางแผนในการรักษาโรคมะเร็งระยะต่างๆรวมถึงการรักษาแบบประคับประคอง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     จ.บันทึกรายงานผู้ป่วยได้อย่างสมบูรณ์และสม่ำเสมอ
2. ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และความสามารถในการนำไปใช้แก้ปัญหาของผู้ป่วยและสังคมรอบด้าน (Medical knowledge and skills)
     ก. เข้าใจวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานของร่างกาย และจิตใจ
     ข. มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพ และความเชี่ยวชาญในสาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
3. การเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Practice-based learning)
     ก. ดำเนินการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขได้
     ข. การใช้ยาและทรัพยากรอย่างสมเหตุผล
     ค. เรียนรู้และเพิ่มประสบการณ์ได้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติ
4. ทักษะปฏิสัมพันธ์ และการสื่อสาร (Interpersonal and communication skills)
     ก. นำเสนอข้อมูลผู้ป่วย และอภิปรายปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
     ข. ถ่ายทอดความรู้และทักษะให้แพทย์ นักศึกษาแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์
     ค. สื่อสารให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ บนพื้นฐานของความเมตตา เคารพในการตัดสินใจและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
     ง. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำงานกับผู้ร่วมงานทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ
5. ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism)
     ก. มีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วย ญาติ ผู้ร่วมงาน เพื่อนร่วมวิชาชีพและชุมชน
     ข. มีความสนใจใฝ่รู้ และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต (Continuous professional development)
     ค. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
     ง. คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม
6. การปฏิบัติงานให้เข้ากับระบบ (System-based practice)
     ก. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสุขภาพและระบบยาของประเทศ
     ข. มีความรู้และมีส่วนร่วมในระบบพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย
     ค. มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วย
     ง. มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิผู้ป่วย
     จ. มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสม (Cost Consciousness Medicine) สามารถปรับเปลี่ยนการดูแลรักษาผู้ป่วยให้เข้ากับบริบทของการบริการสาธารณสุขได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ



คณะกรรมการฝึกอบรม ติดตามและประเมินหลักสูตรอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
1. รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงฉัตรประอร งามอุโฆษ (ที่ปรึกษา)
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงธิติยา เดชเทวพร (ประธานกรรมการ)
3. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์เอกภพ สิระชัยนันท์ (กรรมการ)
4. อาจารย์ นายแพทย์ธัช อธิวิทวัส (กรรมการ)
5. อาจารย์ นายแพทย์พิชัย จันทร์ศรีวงศ์ (กรรมการ)
6. รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงธัญนันท์ ใบสมุทร (กรรมการ)
7. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ณัฐพงศ์ งามไพบูลย์ (กรรมการ)
8. อาจารย์ แพทย์หญิงธีรดา ศิริปุณย์ (กรรมการ)
9. อาจารย์ นายแพทย์ธเนศ เดชศักดิพล (กรรมการ)
10. อาจารย์ แพทย์หญิงธนพร ธำรงจิรพัฒน์ (กรรมการ)


ลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฏหมาย © 2565. มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย :: นโยบายความเป็นส่วนตัว    นโยบายคุ๊กกี้