หลักสูตรฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางสาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
[Download]
วิสัยทัศน์
เป็นหน่วยทํางานด้านอายุรศาสตร์โรคมะเร็ง อย่างมีมาตรฐานสากล
พันธกิจ
โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สําคัญของของประเทศไทย ตามสถิติของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าโรคมะเร็งเป็น สาเหตุการตายอันดับ 1 การดูแลรักษาโรคมะเร็งจําเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากสหสาขาวิชาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยาซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยที่สำคัญ มีความหลากหลายทั้งในด้านความชุก ความรุนแรง ความสลับซับซ้อน และความรีบด่วน และยังเป็นองค์ความรู้ที่มีความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างรวดเร็ว ซึ่งล้วนท้าทายความรู้ความสามารถของ อายุรแพทย์มะเร็งวิทยาในการให้การวินิจฉัยโรค การดูแลรักษาแบบองค์รวม และการพยากรณ์โรค นอกจากความรู้และทักษะ ด้านอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยาแล้ว อายุรแพทย์มะเร็งวิทยายังต้องมีความสามารถด้านอื่นๆ ที่สำคัญ ได้แก่ความสามารถในการ เรียนรู้เพื่อให้มีการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ความสามารถด้านการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู็ ความเป็นมืออาชีพ การสื่อสาร และปฏิสัมพันธ์ การทำงานเป็นทีม การปฏิบัติงานแบบสหวิชาชีพ ความรู้ความเข้าใจในระบบสุขภาพของประเทศ การบริหาร จัดการ กระบวนการคุณภาพและความปลอดภัย ตลอดจนความรับผิดชอบ มีจริยธรรม ทัศนคติ และเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วย ผู้ร่วมงาน และองค์กร มีความเอื้ออาทรและใส่ใจในความปลอดภัย โดยยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ดังนั้น จึงมีความจําเป็นต้อง ฝึกอบรมอายุรแพทย์สาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ ความสามารถในการวินิจฉัยโรคและความ ผิดปกติต่างๆได้ และสามารถให้การดูแลรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมด้วยตนเอง หรือให้คําปรึกษาแก่แพทย์อื่นๆ ในการดูแล รักษาผู้ป่วย นอกจากนี้ความเป็นผู้เชี่ยวชาญ สามารถสร้างงานวิจัยและองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาการแพทย์และสาธารณสุขของ ประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
หน่วยมะเร็งวิทยา สาขาวิชาอายุรศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กําหนดพันธกิจของการ ฝึกอบรมให้สอดคล้องไปกับพันธกิจของการฝึกอบรมของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ดังนี้
1. ฝึกอบรมแพทย์ทางด้านอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยาให้มีเจตคติ คุณธรรม จริยธรรมแห่งวิชาชีพ มีความรับผิดชอบและ จิตสํานึกของความเป็นลูกพระราชบิดาโดยถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง มีความรู้ และทักษะทางด้านอายุรศาสตร์ มะเร็งวิทยาที่สอดคล้องกับความต้องการด้านสุขภาพของชุมชนและสังคมในภาคใต้และระบบบริการสุขภาพที่มีความ หลากหลายของประเทศ
2. ส่งเสริมให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีแนวคิดและพัฒนาทักษะในการดูแลรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวมสามารถเรียนรู้การบริหาร ระบบคุณภาพ และธรรมาภิบาลเพื่อการทํางานเป็นทีมอย่างมีคุณภาพและมีความสุขและสามารถเป็นผู้นำทีมสุขภาพทางด้าน อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยาในการรักษา
3. มีความรู้ในกระบวนการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยสามารถสร้างงานวิจัยและองค์ความรู้เพื่อพัฒนาการแพทย และสาธารณสุขของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
4. มีความสามารถในการพัฒนาตนเองและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อเข้าสู่การฝึกอบรมต่อ ยอดทั้งภายในและต่างประเทศ
เกณฑ์การคัดเลือกแพทย์ประจำบ้าน/ แพทย์ประจำบ้านต่อยอดอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
1. ได้รับปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต หรือเทียบเท่าที่่แพทยสภารับรองได้รับการขึ้นทะเบียนประกอบวิชาชีพเวชกรรม จากแพทยสภาแล้ว ผ่านการปฏิบัติงานเพิ่มพูนทักษะ สามารถสมัครเข้าฝึกอบรมชั้นปีที่ 1 ได้
2 เป็นผู้ที่่ได้รับวุฒิบัตร หรือหนังสืออนุมัติสาขาอายุรศาสตร์ของแพทยสภา หรือเป็นแพทย์ประจําบ้านปีสุดท้ายใน การฝึกอบรมเพื่อวุฒิบัตรฯ สาขาอายุรศาสตร์หรือเป็นผู้มีสิทธิ์สอบเพื่อวุฒิบัตรสาขาอายุรศาสตร์ในปีนั้น สามารถสมัครเข้า ฝึกอบรมในชั้นปีที่ 3 ได้
3 เป็นผู้ที่่ได้รับวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติสาขาโลหิตวิทยาของแพทยสภาหรือเป็นแพทย์ประจําบ้านปีสุดท้ายในการ ฝึกอบรมเพื่อวุฒิบัตรฯ สาขาโลหิตวิทยาหรือเป็นผู้มีสิทธิ์สอบเพื่อวุฒิบัตรสาขาโลหิตวิทยาในปีนั้นสามารถสมัครเข้าฝึกอบรมใน ชั้นปที่ 3 ได้
4. มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์แพทยสภาในการเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง
การคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรม
สาขาวิชาอายุรศาสตร์และหน่วยมะเร็งวิทยา ได้กําหนดกระบวนการคัดเลือกโดยมีการประกาศรับสมัครและเกณฑ์ การคัดเลือกผ่านทางฝ่ายการศึกษาหลังปริญญาและการศึกษาต่อเนื่อง ของคณะฯ สาขาวิชาอายุรศาสตร์และหน่วยมะเร็งวิทยามีการดําเนินการแต่งตั้งกรรมการคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรม ซึ่งเป็น อาจารย์แพทย์ในหน่วยมะเร็งวิทยา และ/หรือ สาขาวิชาฯ ที่มีประสบการณ์และตัวแทนผู้เข้ารับการฝึกอบรมซึ่งไม่มีส่วนได้ส่วน เสียต่อผู้สมัคร โดยกรรมการสามารถให้คะแนนได้ตามเกณฑทที่กำหนดไว้ได้อย่างอิสระ โดยไม่คำนึงถึง เพศ เชื้อชาติ ศาสนา รวมถึงโรคหรือความพิการที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการฝึกอบรมของผู้สมัคร ผลการคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรม อยู่บนพื้นฐาน ความเสมอภาค โปร่งใส และเปิดโอกาสให้ผู้สมัครสามารถอุทธรณ์ผลได้ตามกระบวนการของคณะแพทยศาสตร์มะเร็งวิทยา สมาคม และราชวิทยาลัยฯ อนึ่ง กระบวนการคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรม สามารถมีการปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ซึ่ง หนว่ยมะเร็งวิทยา และ/หรือ สาขาวิชาฯ จะประกาศให้ผู้สมัครรับทราบล่วงหน้าก่อนทุกครั้ง
การคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรมยึดหลักความเสมอภาค โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยเกณฑ์การคัดเลือก พิจารณาจาก
1. ผลการศึกษาระดับแพทยศาสตรบัณฑิต
2. ประสบการณ์การทางานและกิจกรรมนอกหลักสูตร รวมทั้ง recommendation
3. ต้นสังกัด
4. บุคลิกภาพโดยรวม และทัศนคติในการสัมภาษณ์
วิธีการคัดเลือก
1. ผู้สมัครส่งใบสมัครเป็นทางการให้ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ ตามกําหนดการรับสมัคร พร้อมส่งหลักฐานประกอบการสมัครให้สาขาวิชาฯ
2. สอบสัมภาษณ์ผู้สมัครโดยคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์คณาจารย์ของหน่วยมะเร็งวิทยา และ/หรือ สาขาวิชาอายุรศาสตร์ตามกําหนด เวลาและหลักเกณฑ์ของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ
3. ตัดสินผลการคัดเลือกตามเกณฑ์การคัดเลือกข้างต้น กรณีที่คะแนนใกล้เคียงกันขึ้นอยูุ่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการการสอบสัมภาษณ์
4. แจ้งผลการคัดเลือกให้ผู้สมัครรับทราบตามกําหนดเวลาของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ และส่งรายชื่อผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้แพทยสภา โดยผ่านราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ
ผลลัพธ์ของการฝึกอบรม/หลักสูตร
แพทย์ที่จบการฝึกอบรมต้องสามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเองตามสมรรถนะหลักทั้ง 6 ด้าน ดังนี้
I การดูแลรักษาผู้ป่วย (Patient care)
1.มีทักษะในการซักประวัติ ตรวจร่างกาย การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการรวบรวมข้อมูล สําหรับนํามาคิดวิเคราะห์อย่างเป็นเหตุเป็นผล เพื่อนําไปสู่การตัดสินใจให้การดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเหมาะสม รวมทั้งการทําหัตถการที่จำเป็น
2.มีทักษะในการตรวจพบโรคมะเร็งระยะแรก การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งและสร้างเสริมสุขภาพ
3.มีทักษะในการดําเนินการเพื่อการวินิจฉัยโรคมะเร็งระยะต่างๆ
4.มีทักษะในการวางแผนในการรักษาโรคมะเร็งระยะต่างๆรวมถึงการรักษาแบบประคับประคอง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.สามารถบันทึกรายงานผู้ป่วยได้อย่างสมบูรณ์และสม่ำเสมอ
II. ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และความสามารถในการนำไปใช้แก้ปัญหาของผู้ป่วยและสังคมรอบด้าน (Medical knowledge and skills)
1. มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน และความรู้ทางคลินิกด้านอายุรศาสตร์แบบองค์รวมที่ สอดคล้องกับความต้องการด้านสุขภาพของชุมชนและสังคม
2. มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพ และความเชี่ยวชาญในสาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
III. การเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Practice-based learning)
1. สามารถดําเนินการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีคุณภาพและตอบสนองต่อปัญหาของประเทศ
2. การใช้ยาและทรัพยากรอย่างสมเหตุผล
3. เรียนรู้และเพิ่มประสบการณ์ได้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติ
IV. ทักษะปฏิสัมพันธ์ และการสื่อสาร (Interpersonal and communication skills)
1. สามารถนําเสนอข้อมูลผู้ป่วย และอภิปรายปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
2. สามารถถ่ายทอดความรู้และทักษะ ให้แพทย์นักศึกษาแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์
3. สื่อสารให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ บนพื้นฐานของความเมตตาเคารพในการ ตัดสินใจและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
4. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำงานกับผู้ร่วมงานทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ
V. ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism)
1. มีเจตคติ คุณธรรม จริยธรรมแห่งวิชาชีพ มีความรับผิดชอบและจิตสํานึกของความเป็นลูกพระราชบิดาโดยถือ ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
2. มีความสนใจใฝ่รู้ และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต (Continuous professional development)
3. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
4. มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทางการแพทย์
VI. การปฏิบัติงานให้เข้ากับระบบ (System-based practice)
1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสุขภาพและระบบยาของประเทศ
2. มีความรู้และมีส่วนร่วมในระบบพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย
3. มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วย
4. มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิผู้ป่วย
5. มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสม (Cost Consciousness Medicine) สามารถปรับเปลี่ยนการดูแลรักษาผู้ป่วยให้เข้ากับบริบทของการบริการสาธารณสุขได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ
6. มีความรู้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวมสามารถเรียนรู้การบริหาร ระบบคุณภาพและธรรมาภิบาล
7. มีภาวะผู้นำสามารถทํางานเป็นทีม และมีทักษะในการบริหารจัดการมีความสามารถปฏิบัติงานให้เข้ากับระบบ
8. มีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาและทรัพยากรอย่างสมเหตุผล
9. มีความรู้ความเข้าใจในการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เหมาะสมและคุ้มทุน
คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรและกำกับดูแลการฝึกอบรมและสอบแพทย์ประจำบ้าน/แพทย์ประจำบ้านต่อยอด สาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
พญ.ภัทรพิมพ์ สรรพวีรวงศ์ (ประธานกรรมการ)
พญ.อรุณี เดชาพันธุ์กุล (กรรมการ)
พญ.จิรวดี สถิตย์เรืองศักดิ์ (กรรมการ)
ตัวแทน พจบ./พจบ.ต่อยอดสาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา (กรรมการ)
รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าสาขาอายุรศาสตร์ (กรรมการ)
รองหัวหน้าสาขาวิชาอายุรศาสตร์ ฝ่ายการศึกษาหลังปริญญา (กรรมการ)
นส.มลิวรรณ ส่งเสริม หรือตัวแทนสายสนับสนุนหน่วยมะเร็งวิทยา (เลขานุการ)
รองคณบดีฝ่ายการศึกษาหลังปริญญา (ที่ปรึกษา)
คณะกรรมการคัดเลือกแพทย์ประจำบ้าน/แพทย์ประจำบ้านต่อยอด สาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
หัวหน้าสาขาวิชาอายุรศาสตร์ (ที่ปรึกษา) พญ.ภัทรพิมพ์ สรรพวีรวงศ์ (ประธานกรรมการ)
พญ.อรุณี เดชาพันธุ์กุล (กรรมการ)
พญ.จิรวดี สถิตย์เรืองศักดิ์ (กรรมการ)
ตัวแทน พจบ./พจบ.ต่อยอดสาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา (กรรมการ)
นส.มลิวรรณ ส่งเสริม หรือตัวแทนสายสนับสนุนหน่วยมะเร็งวิทยา (กรรมการและเลขานุการ)